ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ดูแลผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้าย ควรรู้อะไรบ้าง? 

โรคมะเร็งจะถือเป็นโรคร้ายที่มีผู้ป่วยมากที่สุดเลยก็ว่าได้ และการดูแลผู้ป่วยมะเร็งจะเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ที่ครบครัวหรือคนรอบข้างจำเป็นต้องให้ความสำคัญมากที่สุด ยิ่งเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยแล้ว จะเป็นการดูแลแบบประคับประคอง ที่เราจำเป็นต้องมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีความสุขมากที่สุด รวมทั้งการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นไปดูกันเลยว่า การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ควรรู้อะไรบ้าง 

ดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง คืออะไร 

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายส่วนใหญ่แล้ว จะเรียกกันว่า “การดูแลแบบประคับประคอง” นั่นเอง ซึ่งการดูแลจะเป็นการมุ่งเน้นบรรเทาอาการเจ็บปวด และป้องกันภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เน้นการดูแลในเรื่องของสภาพจิตใจ สังคม และอารมณ์ของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ครอบครัวจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการดูแล และการตัดสินใจร่วมกับทีมแพทย์อีกด้วย อีกทั้งครอบครัวจะต้องพูดคุยและเตรียมเอกสารระบุความต้องการของผู้ป่วย ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการในด้านการแพทย์ขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติสัมปัชชัญญะสมบูรณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาและการตัดสินใจวางแผนการรักษา โดยเฉพาะในช่วงใกล้เสียชีวิต ซึ่งในช่วงนี้ผู้ป่วยจะไม่มีความสามารถเพียงพอจะตัดสินใจเองได้นั่นเอง 

อาการของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่ครอบครัวต้องสังเกต 

แน่นอนว่าหากใครที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย หรือมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ทุกคนจำเป็นต้องทำใจกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ป่วยเอง หรือครอบครัว และบุคคลรอบข้าง ทั้งนี้ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จะมีการแสดงอาการต่าง ๆ ให้เราได้เห็น เพราะฉะนั้นไปดูกันเลยว่าดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อาการของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต จะมีอาการใดบ้าง 

  • อุณหภูมิของร่างกาย: เมื่อร่างกายของผู้ป่วยมีการไหลเวียนของโลหิตลดลง มือและเท้าของผู้ป่วยจะเย็นขึ้น สีคล้ำหรือซีด เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดขึ้นกับบริเวณอื่น ๆ ในร่างกาย ดังนั้นควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอยู่เสมอ 
  • การรับรู้ หรือสติสัมปชัญญะ: ผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต มักจะมีสติสัมปชัญญะที่น้อยลง แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจะยังรับรู้ได้ด้วยการฟัง หรือการสัมผัส แต่จะไม่สามารถตอบสมองได้นั่นเอง 
  • การรับอาหาร: ผู้ป่วยจะมีอาการอยากอาหารน้อยลง ร่วมกับการรับประทานอาหารได้น้อยลง  

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้าย จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องสภาพจิตใจของผู้ป่วยให้มากที่สุด เพราะในระยะนี้จะเป็นระยะประคับประคอง ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นคนรอบตัวของผู้ป่วยจะต้องทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้นั่นเอง